จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554

การตลาดอินเทอร์เน็ต



การตลาดอินเทอร์เน็ต (อังกฤษ: Internet marketing) หรืออาจใช้ว่า i-marketing, web-marketing, Digital Marketing, การตลาดออนไลน์ (online-marketing) หรือ การตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (e-Marketing) หมายถึง การดำเนินกิจกรรมทางการตลาดโดยใช้   อินเทอร์เน็ต เป็น สื่อกลาง และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มาผสมผสานกับวิธีการทางการตลาด การดำเนินกิจกรรมทางการตลาด อย่างลงตัวกับลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมาย เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายขององค์กรอย่างแท้จริง ซึ่งในรายละเอียดของการทำการตลาด E-Marketing จะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
  1. เป็นการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายในลักษณะเฉพาะเจาะจง (Niche Market)
  2. เป็นลักษณะเป็นการสื่อสารแบบ 2 ทาง (2 Way Communication)
  3. เป็นรูปแบบการตลาดแบบตัวต่อตัว (One to One Marketing หรือ Personalize Marketing) ที่ลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายสามารถกำหนดรูปแบบสินค้าและบริการได้ตามความต้อง การของตนเอง
  4. มีการกระจายไปยังกลุ่มผู้บริโภค (Dispersion of Consumer)
  5. เป็นกิจกรรมที่นักการตลาดสามารถสื่อสารไปยังทั่วทุกมุมโลก ตลอด 24 ชั่วโมง (24 Business Hours)
  6. สามารถติดต่อสื่อสาร โต้ตอบ ปฏิสัมพันธ์ได้อย่างรวดเร็ว (Quick Response)
  7. มีต้นทุนต่ำแต่ได้ประสิทธิผล สามารถวัดผลได้ทันที (Low Cost and Efficiency)
  8. มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมการตลาดแบบดั้งเดิม (Relate to Traditional Marketing)
  9. มีการตัดสินใจในการซื้อจากข้อมูลข่าวสารที่ได้รับ (Purchase by Information)


E-Marketing เป็นส่วนผสมแนวความคิดทางการตลาด และทางเทคนิค รวมเข้าไว้ด้วยกันทั้งด้าน การออกแบบ (Design) , การพัฒนา (Development) , การโฆษณาและการขาย (Advertising and Sales) เป็น ต้น (ตัวอย่างกิจกรรมได้แก่ Search Engine Marketing, E-mail Marketing, Affiliate Marketing, Viral Marketing ฯลฯ) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ธุรกิจและลูกค้า เนื่องจากระบบทางอิเล็กทรอนิกส์สามารถสนับสนุนการร้องขอข้อมูลของลูกค้า การจัดเก็บประวัติ และพฤติกรรมของลูกค้าเอาไว้ รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าได้ ส่งผลต่อ การเพิ่มและรักษาฐานลูกค้า (Customer Acquisition and Retention) และอำนวยประโยชน์ในการประกอบธุรกิจอย่างครบถ้วน
ในขณะที่ การตลาดแบบดั้งเดิม (Traditional Marketing) จะมีรูปแบบที่แตกต่างจาก E-Marketing อย่าง ชัดเจน โดยการตลาดแบบดั้งเดิมนั้นจะมีกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย จะไม่เน้นทำกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง และมักจะใช้วิธี การแบ่งส่วนตลาด (Marketing Segmentation) โดย ใช้เกณฑ์สภาพประชากรศาสตร์ หรือสภาพภูมิศาสตร์ และสามารถครอบคลุมได้บางพื้นที่ ในขณะที่ถ้าเป็น E-Marketing จะสามารถครอบคลุมได้ทั่วโลกเลยทีเดียว ด้วยเหตุนี้ธุรกิจต่างๆ จึงได้ให้ความสนใจกับอินเทอร์เน็ตเป็นอย่างมาก รวมถึงได้มีการนำเอาแนวคิด E-Marketing มาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อทำการตลาดออนไลน์ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด

การทำตลาดยุคใหม่เน้นเจาะกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจง (select target)



เริ่มมีให้เห็นกันมากขึ้นในปัจจุบัน เกมการตลาดเชิงรุกที่เจาะไปที่ demographic ของ กลุ่มเป้าหมาย โดยมีไลฟ์สไตล์ของแต่ละวัยเป็นโจทย์ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงกับการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเป้าหมายผู้บริโภค อายุ อาชีพ รายได้
วันนี้ผมขอยกตัวอย่างมาเล่าสู่กันฟัง 5 รูปแบบดังนี้
1 แบ่งตาม การใช้ชีวิต
2 แบ่งตาม เพศ
3 แบ่งตามกลุ่มอายุ
4 แบ่งตาม สถานะทางการเงิน (social economic status)
5 แบ่งตามมุมมองทางความคิด หรือ (attitude)
ขอขยายความของทั้ง 5 แบบ  

โดยเริ่มที่แบบแรกเลยนะครับการแบ่งตามการใช้ชีวิต ปัจจุบันคนในวัยเดียวกันอาจมีรูปแบบการใช้ชีวิตที่แตกต่างกันมาก เช่นผู้หญิงวัยเริ่มทำงาน อายุ 25 ปี เหมือนกันบางคนอาจชอบดูหนัง ฟังเพลง บางคนอาจชอบ การท่องเที่ยว หรือ บางคนอาจชอบการอ่านหนังสือ และบางคนอาจชอบอยู่บ้านดูทีวี ซึ่งแน่นอนเธอเหล่านั้นอาจเป็นไปได้ที่จะไม่เลือกซื้อสินค้าเหมือนๆ กัน เช่น คนที่ชอบดูทีวี อยู่บ้านอาจชอบสินค้าที่เน้นความสะดวกสบาย การเลือกซื้ออาหารก็อาจจะนิยมซื้ออาหารประเภทพร้อมทาน หรืออาหารแช่แข็ง แต่ขณะเดียวกันผู้หญิงที่อายุเท่ากัน แต่ชอบเที่ยว อาหารที่เลือกซื้ออาจจะเน้นการทานข้าวนอกบ้านมากกว่าซื้ออาหารแช่แข็ง สินค้าที่ออกมาสนับสนุนการใช้ชีวิตเช่น อาหารแช่แข็งต่างๆ ที่นับวันยิ่งโตวันโตคืน ไม่ว่าเจ้าตลาดอย่าง s&p หรือคู่แข่งต่างๆ มากมายเช่น อีซี่ โก เป็นต้น
กลุ่มที่ 2 แบ่งตามเพศ สินค้าที่แบ่งตามเพศ มีมานานไม่ต่ำกว่า 10 ปี ไม่ว่าจะเป็น สินค้าฟุ่มเฟือย หรือสินค้าต่างๆ เช่น โรออน สบู่ อาหารเสริม ยาสระผม ครีมบำรุงผิว ปัจจุบัน ขยายผลไปถึง โทรศัพท์มือถือ รถยนต์ แม้กระทั่งบัตรเครดิตต่างๆ เริ่มมีของผู้หญิงโดยเฉพาะ เช่น ktc For lady เป็นต้น หรือมือถือโนเกีย ลามูย์ คอลเลคชั่น และไนกี้ เลดี้ เป็นต้น 
กลุ่มที่ 3 แบ่งตามอายุ มีมากมายเช่นนมพร้อมดื่ม หรือแม้กระทั้งยาสระผม เครื่องสำอาง ที่เห็นได้ชัด เช่น ซันซิล สำหรับผู้หญิงวัย 30 หรือพอนด์ สำหรับผู้หญิงวัย 35 นมแอนลีน มัม แอนลีน โกลด์ เป็นต้น 
กลุ่มที่ 4 แบ่ง ตามสถานภาพทางการเงิน เช่นสินค้าบัตรเครดิต แพลทินัมต่างๆ หรือสินค้าที่เน้นความเป็นลิมิเตทอิดิชั่นต่างๆ ล้วน สะท้อนการใช้เงินเพื่อความเหนือกว่าเสมอ
กลุ่มที่ 5 หรือกลุ่มสุดท้ายแบ่งตามมุมมองทางความคิดหรือ attitude สินค้า กลุ่มนี้มักเป็นสินค้าที่เกิดขึ้นมาทีหลัง หรือสินค้าที่หาโอกาส การทำตลาดจากช่องโหว่ของสินค้าเจ้าตลาด เช่น การเปิดตัวของออเร้นจ์ ที่ใช้เรื่องมุมมองมาเป็นตัวสร้างความสนใจในแบนด์เป็นต้น


เห็นไหมครับปัจจุบันการทำตลาดมันมากกว่าแค่ 4P ที่ เราเรียนมา ปัจจุบันการทำตลาดมีการแข่งขันสูงมาก สินค้าแต่ละตัวก็มีโจทย์ในการขยายตลาดต่างกันออกไป เช่นซันซิลซึ่งเป็นเจ้าตลาดยาสระผม ถ้าไม่ขยายด้วยการเจาะกลุ่มอายุ สินค้าในตลาดก็จะโตสูงสุดเพียงเท่านี้ หรือแม้กระทั้งบัตรเครดิตที่เน้นโปรโมท ตัวแพลทินัมนั้นจริงๆแล้วการโปรโมทตัวแพลทินัม นั้นสามารถสร้างแบรนด์ให้กับสินค้าได้เป็นอย่างดี หรือแม้แต่การเปิดตัวของ ออเร้นจ์ ต้องดึงเรื่อง attitude มานำเสนอเพราะทีมการตลาดรู้ดีว่า ระบบสัญญาณของออเร้นจ์ยังไงในระยะเวลาอันสั้น ก็ไม่สามารถทัน AIS และ DTAC ได้ การนำเสนอด้วย attitude อาจจะสามารถเปิดใจผู้บริโภคให้เลือกใช้สินค้าของเค้าได้ ดังนั้นนักการตลาดยุคใหม่จะต้องศึกษาเรื่อง lifestyle หรือรูปแบบการใช้ชีวิตของกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น
คุณเคยสังเกตไหมครับว่าเพื่อนคุณกับคุณทำไมชอบกิจกรรมบางอย่างเหมือนกัน และบางอย่างแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เพราะจริงๆ แล้ว lifestyle หรือ รูปแบบการใช้ชีวิตของมนุษย์นั้นมีอิทธิพลมาจากหลายสิ่งหลายอย่าง เช่นครอบครัว เพื่อนฝูง สังคมรอบข้างต่างๆ ล้วนมีอิทธิพลกับคนต่างๆ เหล่านั้นทั้งสิ้น
ปัจจุบันโดยเฉพาะประเทศไทยเรา สินค้าต่างๆ ตอบรับการใช้ชีวิตมากขึ้นมาก เพราะคนไทยเปิดรับเร็ว และมีระดับการศึกษาที่ดีขึ้น รวมถึงโลกปัจจุบันไร้พรมแดน ทำให้การรับสารหรือข้อมูลของคนไทยรวดเร็ว ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนหล่อหลอมให้คนรุ่นใหม่เป็นตัวของตัวเองมากยิ่งขึ้น การทำตลาดปัจจุบันจึงยากยิ่งขึ้น เพราะทุกคนต่างหาสิ่งที่ลูกค้าต้องการ ทำให้การแข่งขันสูงขึ้นมาก แต่ผู้ที่ได้รับประโยชน์อย่างแท้จริงคือ ผู้บริโภคเองที่มีทางเลือกมากยิ่งขึ้น ฉะนั้นการทำตลาดยุคใหม่ต้องไม่ละโมบ กล้าตัดสินใจเลือกกลุ่มเป้าหมายที่อยากจะจับให้ชัดเจนเพราะแม้แต่คนวัยเดียว กันยังมี lifestyle ที่ไม่เหมือนกัน

หลักการวิเคราะห์ SWOT Analysis ในการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด ของแผนการตลาด

กลยุทธ์ เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นสำหรับองค์กรเพราะองค์กรใช้กลยุทธ์ในการทำงานเพื่อ บรรลุวัตถุประสงค์ของตน โดยกลยุทธ์ของแต่ละองค์กรจะถูกกำหนดตามธรรมชาติและลักษณะขององค์กรนั้น ๆ ทั้งนี้ องค์กรจะกำหนดกลยุทธ์ได้นั้นต้องรู้สถานภาพหรือสภาวะขององค์กรของตนเสียก่อน
นอก จากนี้ยังต้องมีกระบวนการกำหนดกลยุทธ์ ที่เหมาะสมสำหรับตนเอง วิธีการและเทคนิคในการวิเคราะห์สภาวะขององค์กรและกระบวนการกำหนดกลยุทธ์มี หลายวิธีด้วยกัน หนึ่งในวิธีการเหล่านี้ คือกระบวนการวิเคราะห์ SWOT ซึ่งเป็นวิธีการที่รู้จักและใช้กันอย่างแพร่หลาย 



SWOT เป็นคำย่อมาจากคำว่า Strengths, Weaknesses, Opportunities, and Threats โดย
Strengths คือ จุดแข็ง หมายถึง ความสามารถและสถานการณ์ภายในองค์กรที่เป็นบวก ซึ่งองค์กรนำมาใช้เป็นประโยชน์ในการทำงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ หรือหมายถึง การดำเนินงานภายในที่องค์กรทำได้ดี
Weaknesses คือ จุดอ่อน หมายถึง สถานการณ์ภายในองค์กรที่เป็นลบและด้อยความสามารถ ซึ่งองค์กรไม่สามารถนำมาใช้เป็นประโยชน์ในการทำงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ หรือหมายถึง การดำเนินงานภายในที่องค์กรทำได้ไม่ดี
Opportunities คือ โอกาส หมายถึง ปัจจัยและสถานการณ์ภายนอกที่เอื้ออำนวยให้การทำงานขององค์กรบรรลุวัตถุ ประสงค์ หรือ หมายถึง สภาพแวดล้อมภายนอกที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินการขององค์กร
Threats คือ อุปสรรค หมายถึง ปัจจัยและสถานการณ์ภายนอกที่ขัดขวางการทำงานขององค์กรไม่ให้บรรลุวัตถุ ประสงค์ หรือหมายถึง สภาพแวดล้อมภายนอก ที่เป็นปัญหาต่อองค์กร
บาง ครั้ง การจำแนกโอกาสและอุปสรรคเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เพราะทั้งสองสิ่งนี้สามารถเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงอาจทำให้สถานการณ์ที่เคยเป็นโอกาสกลับกลายเป็นอุปสรรคได้ และในทางกลับกัน อุปสรรคอาจกลับกลายเป็นโอกาสได้เช่นกัน ด้วยเหตุนี้องค์กรมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ของตน ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์แวดล้อม

9 หลักการตลาดเบื้องต้น ที่ SMEs ต้องรู้



1.วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ การศึกษาวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ หรือ product life cycle แสดง ให้เห็นว่า ผลิตภัณฑ์และตลาดมี วิวัฒนาการอยู่ตลอดเวลา ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ที่หนึ่งเคลื่อนไปตามวงจร ความสามารถในการทำกำไรของผลิตภัณฑ์นั้นก็จะเปลี่ยนไปด้วย ดังนั้นบริษัทจึงจำเป็นที่จะต้องบริหารกลุ่ม ผลิตภัณฑ์เพื่อให้สอดคล้องกับ วงจรชีวิตช่วงต่างๆ ของผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ที่ประสบความสำเร็จจะต้องทำเงินให้คุ้มกับต้นทุนในการพัฒนา ผลิตภัณฑ์นั้นๆ และยังต้องเพียงพอต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ ซึ่งจะออกมาทดแทนผลิตภัณฑ์เก่านั้นด้วย
ความ ท้าทายอยู่ที่ว่าจะทำอย่างไร จึงจะรักษาส่วนแบ่งตลาดให้ได้มากที่สุด โดยใช้ต้นทุนน้อยที่สุดภายใต้วงจรชีวิตที่ผันแปรไปของผลิตภัณฑ์ที่แตกต่าง กัน
ทุกผลิตภัณฑ์มีวงจรชีวิตของตัวเอง วงจรชีวิตดังกล่าวอาจแบ่งได้เป็น 4 ช่วงคือ
1. ) ช่วงแนะนำผลิตภัณฑ์ เป็นช่วงที่ผลิตภัณฑ์ได้รับการแนะนำสู่ตลาด
2. ) ช่วงเติบโตอย่างรวดเร็ว เป็นช่วงที่มีผลิตภัณฑ์ออกมาในตลาดมาก ทั้งจากบริษัทและจากคู่แข่ง
3.) ช่วงอิ่มตัว เป็นช่วงที่ปริมาณผลิตภัณฑ์ในตลาดเริ่มอิ่มตัว การพัฒนาและการปรุงแต่งผลิตภัณฑ์เริ่มถึงทางตัน และเกิดขึ้นน้อยครั้งลง

4. )ช่วงถดถอย เป็นช่วงที่ปริมาณของผลิตภัณฑ์ในตลาดลดลง ซึ่งอาจเป็นเพราะมีผลิตภัณฑ์ที่ใหม่ และทันสมัยกว่าออกมาแย่งลูกค้า หรือมีสินค้าทดแทนที่ทำให้ลูกค้าไม่สนใจใช้ผลิตภัณฑ์นั้นอีกต่อไป
เป็น ที่ชัดเจนว่า วงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์เป็นสิ่งที่จะต้องนำมาพิจารณาในการวางกลยุทธ์และแผน การตลาดของผลิตภัณฑ์นั้นๆ แนวคิดดั้งเดิมมีอยู่ว่า ผลิตภัณฑ์ทุกประเภทมีวงจรชีวิตที่จำกัด ซึ่งหมายความว่า ในที่สุดผลิตภัณฑ์ตัวนั้นจะต้องถูกแทนที่และหายไปจากตลาด
แต่ ยังมีแนวคิดอีกแนวคิดหนึ่งซึ่งเชื่อว่า ผลิตภัณฑ์ที่สามารถจะอยู่ยั่งยืนและไม่หายไป แต่จะกลายตัวไปเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบอื่นที่ทันสมัยมากขึ้น เช่นวิวัฒนาการของเครื่องพิมพ์ดีดมาเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ จุดสำคัญอยู่ที่ว่า ต้องสามารถคิดที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อที่จะยืดอายุวงจรของผลิตภัณฑ์และตลาดไว้ให้นานที่สุด

2. แผนภูมิการเติบโต จะทำให้เราสามารถแยกแยะสินค้าหลายๆ ชนิดของบริษัท โดยเปรียบเทียบกับอัตราการเติบโตของตลาด และส่วนแบ่งทางการตลาดของสินค้าแต่ละชนิด สินค้าที่มีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงในตลาดที่มีอัตราการเติบโตช้า จะทำรายได้จากการผลิตได้มาก ในทางกลับกัน การผลิตสินค้าที่เรามีส่วนแบ่งทางการตลาดน้อย ควรที่จะได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบว่า ควรจะผลิตต่อไปหรือไม่
สำหรับ บริษัทที่มีสินค้าหลากหลาย การนำแผนภูมิการเติบโต-ส่วนแบ่งการตลาดไปใช้ จะช่วยให้บริษัทสามารถประเมิน และพิจารณาการถ่วงดุลสินค้าแต่ละชนิดของบริษัท เพื่อดูว่าสินค้าตัวใดควรจะเน้นในการพัฒนา ลงทุนเพิ่มเติม หรือสินค้าตัวใดควรจะตัดจากสายการผลิต เพื่อที่จะกำหนดกลยุทธ์ในกลุ่มสินค้าที่เรามีอยู่ เราต้องทราบว่าตลาดที่เราทำธุรกิจอยู่ หรือตลาดที่เราต้องการทำธุรกิจมีความน่าสนใจเพียงไร
มี ความเป็นไปได้น้อยมากที่เราจะโชคดีเจอตลาดที่เพียบพร้อม มีคู่แข่งน้อย มีอัตราการเติบโตสูง และผลกำไรตอบแทนสูงพร้อมๆ กัน อย่างไรก็ตาม เราจะเน้นตลาดที่น่าสนใจ ที่สามารถใช้ทรัพยากรที่เรามีอยู่และความพยายามให้คุ้มค่าที่สุด
การ แบ่งเขตการตลาดไม่ใช่สิ่งที่ง่าย เพราะขึ้นอยู่กับขอบเขตการพิจารณาหลายอย่าง อย่างไรก็ตาม ตามหลักการแล้วเราต้องการที่จะเป็นผู้นำในตลาดสินค้าของเราเสมอ โดยที่ตลาดควรจะมีขนาดใหญ่พอ มีการเติบโตสูง และมีอัตราผลตอบแทนที่ดี เพราะถ้าตลาดมีการแข่งขันสูง การตั้งราคาเพื่อให้มีผลตอบแทนที่เหมาะสมก็อาจจะเป็นสิ่งที่ยาก
แผนภูมิการเติบโต-ส่วนแบ่งการตลาด เป็นหลักความคิดที่แบ่งสินค้าในกลุ่มสินค้าออกเป็น 4 ประเภทคือ 1. ดวงดาว 2. วัวนม 3. เด็กมีปัญหา และ 4. สุนัข หลักการจัดแบ่งสินค้านี้ขึ้นอยู่กับ อัตราการเติบโตของตลาดและส่วนแบ่งการตลาดของสินค้านั้นๆ แผนภูมิการเติบโต-ส่วนแบ่งการตลาด จะทำให้เราสามารถวิเคราะห์ได้ว่า สินค้าชนิดใดที่ทำเงินให้แก่บริษัท และสินค้าชนิดใดที่ควรจะเลิกผลิต

3. แรงกระทบทั้ง สภาวะ แวดล้อมในการดำเนินธุรกิจ ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องนำมาพิจารณาในการวางแผนกลยุทธ์ของบริษัท การวางแผนกลยุทธ์จะไม่ประสบความสำเร็จ หากปราศจากการวิเคราะห์ สภาวะแวดล้อม ความรุนแรงของการแข่งขัน และอุตสาหกรรมหรือตลาดเป้าหมาย
การวิเคราะห์แรงกระทบทั้ง 5 จะ ช่วยให้เข้าใจถึงโครงสร้าง แนวโน้มหลัก และแรงกระทำต่างๆ ที่จะมีผลกระทบต่อความสามารถในการทำกำไรในอุตสาหกรรมหรือตลาดเป้าหมาย ช่วยให้ทราบถึงจุดแข็งและจุดอ่อนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมและคู่แข่ง เห็นภาพแนวโน้มและภัยคุกคามในอุตสาหกรรม และทราบว่าอุตสาหกรรมกำลังจะโตขึ้นหรือถดถอยลง
แรงกระทบทั้ง 5 ที่กล่าวถึงคือ 1. ผู้ขายวัตถุดิบ 2. ผู้ซื้อสินค้า 3. ผู้แข่งขันรายใหม่ 4. สินค้าทดแทน และ 5. การแข่งขันระหว่างคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกัน โดยปกติถ้าแรงกระทบทั้ง 5 มีค่าต่ำ แสดงว่าอุตสาหกรรมนั้นน่าสนใจลงทุน ในทางกลับกัน ถ้าแรงทั้ง 5 มีค่าสูง แสดงว่าอุตสาหกรรมนั้นมีการแข่งขันสูง มีความเสี่ยงสูงไม่น่าลงทุน

4. ผลิตภัณฑ์ ส่วนผสมทางการตลาด-ผลิตภัณฑ์ หมายถึง แนวคิดที่ว่าจะผลิตสินค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาด กลุ่มเป้าหมายหรือผู้บริโภคได้อย่างไร
การ ตลาดไม่ได้หมายถึง การขายสินค้า ที่ผลิต แต่หมายถึงการทราบว่า จะผลิตสินค้าอะไร ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า ความต้องการของลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา บริษัทควรมีการปรับปรุงคุณภาพสินค้าหรือขยายชนิดของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ เพิ่มขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้บริษัทคู่แข่งเข้าทำในตลาดส่วนนี้ได้ ด้วยวิธีการปรับปรุงหรือขยายสินค้าชนิดนี้ จะทำให้ลูกค้าเกิดความต้องการและเกิดการซื้อซ้ำ และมีความจงรักภักดีในยี่ห้อของสินค้านั้นๆ
เพื่อ ให้เกิดความแน่ใจว่า ลูกค้าจะซื้อสินค้าจากบริษัทแทนที่จะซื้อจากคู่แข่ง จะต้องทำให้สินค้ามีความแตกต่างจากคู่แข่ง และดีกว่าคู่แข่ง โดยการประชาสัมพันธ์ถึงลักษณะเด่นที่ชัดเจนของสินค้า เพื่อให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจต่อสินค้าของบริษัท และเกิดการยอมรับถึงความแตกต่างของสินค้าเมื่อเทียบกับของคู่แข่ง
ประโยชน์ของสินค้าที่แตกต่างนี้ ควรจะสามารถสื่อสารได้ และควรจะตอบสนองต่อประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของ ลูกค้าคือ การมองเห็น การได้ยิน กลิ่น รสชาติ และสามารถจับต้องได้ หรือสามารถอธิบายและจดจำได้ง่าย ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะต้องสามารถก่อให้เกิดรายได้ และป้องกันการเลียนแบบจากคู่แข่งได้เป็นอย่างดีด้วย


5. กลยุทธ์ราคา การกำหนดราคาขายที่ถูกต้องสำหรับสินค้าเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่มีผลกระทบโดยตรงต่อรายได้และผลกำไรของบริษัท ผลกำไรคือ ผลต่างระหว่างต้นทุนในการผลิตสินค้า (ซึ่งได้รวมค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องไว้ทั้งหมด) กับราคาขายของสินค้า (ราคาขายของสินค้า-ต้นทุนการผลิต)
หลาย บริษัทใช้ต้นทุนกลยุทธ์ทางราคาในแบบต้นทุนบวก (ต้นทุน + กำไรที่ต้องการ) แต่อย่างไรก็ตาม การใช้ระบบการคิดเช่นนี้จะเกิดความผิดพลาดได้ เนื่องจากในความเป็นจริงแล้ว ราคามีความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงมากกว่าที่จะหยุดนิ่งอยู่กับที่ การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในยอดขายแทบจะทุก ครั้งไป
บ่อยครั้งราคาสินค้าแพงขึ้น มักเป็นสาเหตุให้ความต้องการซื้อสินค้าลดน้อยลง ในขณะที่ราคาสินค้าลดลงสามารถช่วยให้ยอดขายเพิ่มสูงขึ้นได้ การตอบสนองลักษณะนี้จะช่วยให้สามารถนำกฎการเคลื่อนไหวของราคามาเป็นประโยชน์ และจะช่วยอธิบายว่า จะนำความรู้ที่เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์ส่วนผสมทางการตลาดด้านราคามาช่วยในการ สร้างผลกำไรสูงสุดจากการขายได้อย่างไร


6. ช่องทางการจำหน่าย ในเรื่องของช่องทางการจำหน่าย ยังเป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในส่วนผสมทางการตลาด ยังมีความเกี่ยวพันกับเรื่องยอดขายและการกระจายสินค้าออกสู่ตลาด การเลือกสถานที่หรือช่องทางการจำหน่ายที่เหมาะสม เป็นหนึ่งในหลักการแข่งขันที่จะทำให้บริษัทสามารถเอาชนะคู่แข่งที่ไม่สามารถ บริหารช่องทางการจำหน่ายที่ดีได้
ในการที่จะทำความเข้าใจในเรื่องของการเลือกช่องทางจำหน่าย แบ่งเป็น 3 หัวข้อหลักที่เกี่ยวข้องคือ
1). การ ขายและช่องทางการตลาด ทุกบริษัทจะต้องมีแผนการจำหน่ายซึ่งระบุถึงยอดหรือเป้าของสินค้าที่จะถูก จำหน่ายออกไปในแต่ละช่องทางการจำหน่าย
2). การ กระจายสินค้า เป็นกระบวนการในการนำสินค้าออกสู่ตลาดไปสู่ผู้บริโภค และยังรวมการไหลของข้อมูลที่จำเป็นในการบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผล
3). การบริการลูกค้า คือ ทุกๆ ด้านของความสัมพันธ์ที่บริษัทมีต่อลูกค้า รวมไปถึงความสม่ำเสมอของช่วงเวลาในการส่งสินค้า การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ และการมีสินค้าส่งมอบได้อย่างตรงเวลาและสม่ำเสมอ


 7. การส่งเสริมการขายและบรรจุภัณฑ์ การ ส่งเสริมทางการขายคือ การติดต่อสื่อสารระหว่างบริษัทกับลูกค้า หรือกลุ่มเป้าหมายที่อาจจะเป็นลูกค้าในอนาคต ถึงความต้องการในสินค้าและบริการอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพนี่เอง จะทำให้ภาพลักษณ์ของสินค้า ตราสินค้า หรือแม้แต่ตัวบริษัทมีภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาของลูกค้า และนำไปสู่การเพิ่มยอดขายและการพัฒนาศักยภาพทางการแข่งขันให้แก่สินค้า
ความ คิดริเริ่มในด้านสินค้า ราคา และสถานที่จัดจำหน่าย ซึ่งเป็นส่วนประกอบอื่น ในส่วนผสมทางการตลาดนอกเหนือจากการส่งเสริมทางการตลาด ก็จำเป็นจะต้องส่งเสริมซึ่งกันและกัน เพื่อให้สอดคล้องกับจุดหมายเชิงกลยุทธ์ของบริษัท ช่องทางการส่งเสริมการขาย มี 3 ช่องทางคือ การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ และการส่งเสริมในการขาย


 8. การวิเคราะห์งบกระแสเงินสด กระแสเงินสดมีความสำคัญต่อธุรกิจเป็นอย่างยิ่ง หลายคนคงสงสัยว่า เพราะเหตุใดธุรกิจมีกำไรแต่ไม่มีสภาพคล่องเลย เป็นเพราะกำไรเป็นเพียงตัวเลขทางบัญชี แต่ในความเป็นจริง บริษัทต้องใช้เงินสดในการชำระค่าสินค้าแม้กระทั่งเงินเดือนพนักงาน
การ วิเคราะห์งบกระแสเงินสด ทำให้ทราบถึงการได้มาและใช้ไปของเงินสด และยังช่วยอธิบายให้เห็นภาพที่ชัดเจนเกี่ยวกับธุรกิจ โดยจะมีการนำปัจจัยที่มีผลกระทบต่อกระแสเงินสด อาทิเช่น ค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้จ่ายออกไปในรูปของเงินสดจริง ค่าเสื่อมราคา และการเปลี่ยนแปลงในเงินทุนหมุนเวียนของบริษัทเข้ามาพิจารณา
ปัจจัย สำคัญที่ใช้วัดความเข้มแข็งทางการเงิน ได้แก่ ยอดขาย ความสามารถในการทำกำไร และกระแสเงินสด ซึ่งตัวกระแสเงินสดนี้จะส่งผลทันทีต่อกิจการ เมื่อกิจการเริ่มมีปัญหาทางการเงิน ในฐานะเจ้าของกิจการ หากพบว่าเริ่มมีการฝืดเคืองของกระแสเงินสด อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าธุรกิจกำลังมีปัญหา


 9. การลดต้นทุน การลดต้นทุนยังคงเป็นสิ่งสำคัญของทุกองค์กร นักธุรกิจจำนวนมากมักกล่าวว่า ความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ คือการทำให้ต้นทุนลดลงอย่างต่อเนื่องนั่น เป็นเพราะว่า การเพิ่มรายได้ด้วยการเพิ่มยอดขายเป็นเรื่องยาก ต้องใช้เวลานาน และเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถจะควบคุมได้ ในขณะที่การลดต้นทุนอาจช่วยทำให้องค์กรที่ไม่มีผลกำไรกลับมามีกำไรอีกครั้ง ถึงแม้ว่ารายได้จะคงเดิมก็ตาม ซึ่งสามารถทำได้โดยการนำเอาทรัพยากรที่มีอยู่แล้วในองค์กรมาใช้ให้เกิด ประสิทธิภาพสูงสุด และการลดต้นทุนก็เป็นรากฐานที่สำคัญของทุกธุรกิจ


กลยุทธ์ผู้นำการตลาด

     
     เมื่อการตลาดเป็นปัจจัยสำคัญของการแข่งขันทางธุรกิจ บริษัททั้งหลายควรจะต้อง พัฒนาการ ดำเนินงานของบริษัทให้มีความโดดเด่นทางด้านการตลาดในระดับที่เรียกว่าเป็น ดาวทางด้านการตลาด ซึ่งบริษัทที่เป็นดาวทางการตลาดต้องมีสิ่งต่อไปนี้อย่างชัดเจน
    
   ประการแรก หัวหน้าแผนกทุกแผนกจะต้องมีวิญญาณการตลาดที่ให้ความสำคัญกับผู้บริโภคกำหนด แนวทางการทำงานของแผนกด้วยวิญญาณของนักการตลาดที่มุ่งเน้นการสร้างความพึงพอ ใจให้ผู้บริโภค อย่าปล่อยให้ภาระด้านการตลาดซึ่งหมายถึง การสร้างความพึงพอใจให้กับผู้บริโภค เป็นหน้าที่ของฝ่ายการตลาด ฝ่ายขาย และฝ่ายบริการเท่านั้น ฝ่ายอื่นๆของบริษัทต้องยึดหลักลัทธิบูชาลูกค้าเช่นกัน หัวหน้าแผนกทุกแผนกต้องตั้งคำถามกับตัวเองว่า ในการดำเนินงานในแผนกของตนนั้น ควรจะต้องให้พนักงานปฏิบัติตนเช่นไร จึงจะได้ชื่อว่าเป็นคนเอาใจลูกค้า เป็นคนที่ทำให้ลูกค้าพอใจ เป็นคนที่เต็มใจแก้ไขปัญหาให้ลูกค้า คิดตลอดเวลาว่าบริษัทอยู่ได้ด้วยลูกค้า ดังนั้นลูกค้าจึงสมควรเป็นสิ่งแรกที่เราควรยกย่องให้เกรียติ เทิดทูนบูชา ไม่มีความรู้สึกหมั่นไส้ หรือเป็นปฏิปักษ์กับลูกค้า
     ประการที่สอง พนักงานทุกคนจะต้องตระหนักว่าไม่ว่าพวกเขาจะทำงานในแผนกใดก็ตาม หน้าที่ของพวกเขาก็คือช่วยให้บริษัทได้ลูกค้าใหม่ และรักษาลูกค้าเก่าเอาไว้ตลอดชีวิต ฝ่ายผลิตมีหน้าที่ผลิตสินค้าตามที่ผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายต้องการ เพื่อให้สินค้าที่ผลิตออกมาเป็นที่ถูกใจของผู้บริโภค ฝ่ายการตลาดต้องช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับ Brand เพื่อ ให้ผู้บริโภคมีความภาคภูมิใจและมั่นใจในการซื้อ ฝ่ายขายต้องติดตามเอาใจและสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า ให้เขารู้สึกเป็นคนสำคัญทุกครั้งที่ติดต่อกับนักขายของบริษัท ฝ่ายบริการจะต้องมีความเต็มใจที่จะรับใช้และช่วยเหลือลูกค้า ให้ลูกค้าเกิดความประทับใจและมีความภักดีกับสินค้าตลอดไป ฝ่ายธุรการต้องทำให้การดำเนินงานในบริษัทไม่มีความติดขัดอุปกรณ์เครื่องใช้ ต่างๆมีความพร้อมในการใช้งาน อาคารสถานที่มีความสะดวกสบาย ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ต้องมีความมั่นใจว่าได้คัดสรรพนักงานที่คุณภาพ มีวิญญาณบริการ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีบุคลิดสอดคล้องกับบุคลิกสินค้า เพื่อให้เขาสามารถเป็นทูตที่ดีของ Brand
  
   ประการที่สาม CEO ของ บริษัทต้องเป็นคนที่มีความรู้ทางด้านการตลาด เห็นความสำคัญของการตลาด และมองว่ากิจกรรมทางการตลาดเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า ไม่มองต้นทุนทางการตลาดเป็นค่าใช่จ่ายที่สิ้นเปลือง การที่สินค้าใดๆจะติดตลาดและมีคุณค่าในสายตาของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย เจ้าของสินค้าจะต้องลงทุนด้านการสื่อสารการตลาด และจัดกิจกรรมการตลาด หาก CEO ไม่ เห็นความสำคัญในการดำเนินงานของกิจกรรมทางการตลาด ด้วยเชื่อมั่นว่าสินค้าของบริษัทเป็นสินค้าที่ดี จะต้องขายได้ด้วยตัวเอง ก็แสดงว่า CEO คนนั้นไม่มีวิญญาณของนักการตลาด และเป็นคนที่ไม่รู้ซึ่งถึงอำนาจของการสื่อสาร พนักงานคนใดที่ต้องทำงานภายใต้ CEO ที่ไร้วิสัยทัศฯทางการตลาดเช่นนี้ ต่อให้เก่งแค่ไหนก็ไม่มีโอกาสฉายแววเป็นดาวทางการตลาด 

    ประการที่สี่ CEO และผู้บริหารระดับสูงของบริษัทจะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีของคนที่ยกย่องบูชาลูกค้า ยึดหลักปรัชญาที่ว่า ลูกค้าคือพระเจ้าและ พวกเขาควรใช้เวลาอยู่ใกล้ชิดกับลูกค้ามากกว่าการประชุมกับพนักงานในบริษัท หรืออ่านรายงานของพนักงานบริษัท ผู้บริหารต้องตระหนักว่าพนักงานของบริษัทมักจะมองผู้บริหารเป็นต้นแบบดัง นั้นผู้บริหารจึงควรแสดงตนเป็นสาวกของลัทธิบูชาลูกค้าให้พนักงานเห็น ผู้บริหารต้องไม่ลงโทษพนักงานบางคนที่เอาใจใส่ลูกค้าก่อนที่จะเอาใจใส่ผู้ บริหาร ผู้บริหารต้องไม่ลงโทษพนักงานบางคนที่อาจทำงานนอกหน้าที่เพื่อช่วยแก้ปัญหา ให้ลูกค้า ในขณะเดียวกันผู้บริหารต้องไม่ประเมินผลงานของพนักงานด้วยยอดขายหรือกำไร เท่านั้น แต่ต้องประเมินความสามารถในการรักษาลูกค้าเก่า ในการสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าจนสามารถทำให้ลูกค้ามีความภักดีในการใช้ สินค้าของบริษัทด้วย ผู้บริหารต้องไม่ถือว่าเป็นบุคคลสำคัญในบริษัทจนไม่สามารถก้มหัวมาดูแลเอาใจ ใส่ลูกค้าได้ ในทางตรงกันข้ามต้องทำให้พนักงานเห็นว่า การให้บริการที่ดีนั้น ผู้ให้บริการนั้นต้องมีจิตใจที่พร้อมจะรับใช้ลูกค้า โดยไม่ยึดอัตตาว่าตนเองเป็นใคร มีตำแหน่งอะไร เรียนสูงแค่ไหนหรือเรียนจบอะไรมา การยึดหลักอัตตาจะทำให้คนเราถือตัว และไม่ยอมทำงานรับใช้ลูกค้า

    ประการที่ห้า พนักงานบริษัทต้องได้รับการฝึกอบรมอย่างเข้มข้นให้รู้จักซาบซึ้งในความสำคัญ ของลูกค้า มีความรู้สึกกตัญญูรู้คุณของลูกค้า ด้วยความตระหนักว่าบริษัทอยู่ได้ รุ่งเรืองได้เพราะมีลูกค้ามาอุดหนุน พนักงานต้องไม่หยิ่งผยองลำพองใจ ไม่ว่าสินค้าของบริษัทจะขายดีเพียงใดก็ตาม การที่พนักงานได้ทำอะไรให้ลูกค้านั้น พวกเขาต้องไม่คิดว่าพวกเขาได้ช่วยอะไรลูกค้าแต่เขาต้องคิดว่าลูกค้ากำลัง ช่วยให้พวกเขามีงานทำ ความคิดเช่นนี้จะทำให้พนักงานมีจิตสำนึกที่ดีในการให้บริการแก่ลูกค้า ในการเอาใจใส่ลูกค้า ในการไม่โกรธลูกค้า และรู้จักชื่นชมลูกค้าทุกคน ไม่ว่าลูกค้าคนนั้นจะเป็นคนเช่นไร

    ประการที่หก ในการคัดเลือกพนักงานนั้น อย่าดูความสามารถในด้านของงานที่จะต้องทำเท่านั้น จะต้องคัดเลือกพนักงานที่มีวิญญาณการตลาดด้วย จะจ้างนักบัญชีต้องจ้างนักบัญชีที่เข้าใจหลักการของการตลาดและเห็นความสำคัญ ทางการตลาด จะจ้างวิศวกรดูแลการผลิตต้องจ้างวิศวกรที่เข้าใจการตลาดด้วย ให้ความสำคัญกับการผลิตสินค้าที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า จะจ้างพนักงานแผนกใดก็ตามนอกเหนือจากความรู้และทักษะในด้านของการงานที่เขา จะต้องทำแล้ว ก็ต้องทดสอบทัศนคติที่มีต่อลูกค้า ความเต็มใจที่จะรับใช้ลูกค้า ความเต็มใจที่จะทำให้ลูกค้ามีความสุขได้รับประสบการณ์ที่ดีในการติดต่อกับ บริษัท
  
   ประการที่เจ็ด พนักงานทุกคนในบริษัทมีความพร้อมและยินดีที่จะช่วยเหลือดูแลเอาใจใส่ลูกค้า ไม่ว่าเขาจะทำงานแผนกใด หากเขาเป็นคนแรกที่ลูกค้าได้พบ เขาต้องให้ความช่วยเหลือตามอำนาจหน้าที่ของเขา และหากเป็นสิ่งที่นอกเหนืออำนาจหน้าที่เขา เขาจะต้องช่วยเหลือลูกค้าให้ได้พบผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ดังกล่าวได้อย่างถูก ต้องและรวดเร็ว การที่บริษัทมีลักษณะเช่นนี้ได้ พนักงานทุกคนของบริษัท จะต้องพร้อมทำงานเกินสิ่งที่กำหนดไว้ในพันธกิจ เขาต้องไม่กลัวการทำงานเกินเงินเดือนที่ได้ เขาต้องไม่กลัวที่จะต้องทำงานมากกว่าคนอื่นในบริษัท เขาต้องไม่กลัวเสียเปรียบคนอื่นในเรื่องการทำงาน แต่เขาต้องเต็มใจที่ทำให้ลูกค้าพอใจ เพื่อให้บริษัทมีภาพลักษณ์ที่ดี และเขาเป็นคนมีน้ำใจกับเพื่อนร่วมงาน

วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554

รวมตัวอย่างการวิเคราะห์สถานการณ์ (SWOT Analysis)

ตัวอย่างธุรกิจน้ำพริกสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน

การวิเคราะห์สถานการณ์ (SWOT Analysis)
จุดแข็ง
1.ผู้บริหารมีความรู้ และสูตรในการผลิตน้ำพริกเป็นอย่างดี และดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับน้ำพริกมาเป็นเวลายาวนาน
2.มีช่องทางการจัดจำหน่ายที่แน่นอน โดยทำสัญญาส่งเป็นรายเดือนกับบริษัทตัวแทนจำหน่าย
3.ได้รับเครื่องหมายรับรองคุณภาพสินค้าจากองค์กรอาหารและยา ตั้งแต่ปีแรกที่เริ่มดำเนินการ
4.มีต้นทุนการผลิตต่ำ ทำให้สามารถตั้งราคาขายได้ถูกกว่าคู่แข่งระดับเดียวกันในตลาด
5.กิจการตั้งอยู่ใกล้แห่งวัตถุดิบที่จำเป็นในการผลิตน้ำพริก ทำให้มีต้นทุนในการขนส่งด้านวัตถุดิบที่ต่ำ รวมทั้งไม่จำเป็นต้องสำรองวัตถุดิบไว้มาก
6.งินลงทุนเริ่มแรก เป็นเงินลงทุนของผู้ก่อตั้งเองทั้งหมด ทำให้กิจการไม่มีปัญหาภาระหนี้สิน
จุดอ่อน
1.ตราสินค้าของกิจการยังไม่เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคมากนัก เนื่องจากยังไม่มีการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ตราสินค้าให้ผู้บริโภครับรู้เท่าที่ควร
2.กิจการมีการดำเนินการในลักษณะ Labor Intensive ทำให้การเพิ่มกำลังแรงงาน และกำลังการผลิตเป็นได้ยาก
3.พนักงานส่วนใหญ่เป็นพนักงานระดับแรงงาน ทำให้การพัฒนาทักษะฝีมือต้องใช้เวลามาก
4.สถานที่ผลิตสินค้าอยู่ในเขตที่พักอาศัยของชุมชน ทำให้เกิดข้อจำกัดในด้านการขยายกำลังการผลิตโอกาส
1.น้ำพริกเป็นอาหารที่อยู่คู่กับคนไทยมานาน และเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมาโดยตลอด ทำให้สินค้าสามารถขายได้อย่างสม่ำเสมอ
2.รัฐบาลมีนโยบายในการที่จะส่งเสริมธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กอย่างจริงจัง ทำให้เป็นโอกาสในการขยายการผลิต
อุปสรรค
1.เป็นอุตสาหกรรมที่ลงทุนไม่มาก ทำให้มีคู่แข่งในตลาดจำนวนมาก
2.สินค้าเลียนแบบได้ง่าย  ทำให้กิจการจำเป็นต้องสร้างความแตกต่าง รวมทั้งสร้างการรับรู้ในตราสินค้าให้กับกับผู้บริโภค
3.สูตรและฝีมือการทำน้ำพริกของผู้ผลิตแต่ละรายไม่แตกต่างกันมาก  ทำให้ผู้บริโภคแยกความแตกต่างของสินค้าได้ยาก
4.น้ำพริกเป็นสินค้าที่ต้องพึ่งพาวัตถุดิบตามธรรมชาติเป็นหลัก ดังนั้นทำให้มีความเสี่ยงในเรื่องของผลผลิตขาดตลาด หรือความผันผวนของราคาวัตถุดิบ
 

ตัวอย่างธุรกิจน้ำยาปรับผ้านุ่ม

การวิเคราะห์สถานการณ์ ( SWOT Analysis )
จุดแข็ง (Strength)
·       ผู้บริหารมีความรู้ด้านการผลิตเป็นอย่างดี ซึ่งจะช่วยให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพมากขึ้น
·       ที่ตั้งของกิจการอยู่ใกล้แหล่งชุมชน จึงสามารถกระจายสินค้าไปยังแหล่งต่างๆ ได้สะดวก
·       ขั้นตอนการผลิตไม่ซับซ้อน ไม่ต้องใช้พนักงานที่มีประสบการณ์สูง ทำให้มีต้นทุนการผลิตต่ำ
·       สินค้าราคาถูก
จุดอ่อน (Weakness)
·       ลักษณะการบรรจุผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นสินค้าประเภทอุปโภคบริโภคมีลักษณะคล้ายคลึงกับบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอื่น เช่น ปุ๋ยเคมี  ทำให้ขาดรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์
·       ผลิตภัณฑ์ของกิจการ ยังไม่เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคมาก ดังนั้นจึงสามารถจำหน่ายได้เฉพาะในเขตจังหวัดใกล้เคียงและเฉพาะตลาดล่างเท่านั้น
·       กิจการขาดระบบจัดการ และระบบบัญชีการเงินที่เป็นมาตรฐาน  ทำให้ขาดข้อมูลแสดงสถานะการผลิต และการเงินที่ช่วยพิจารณาตัดสินใจด้านการจัดการได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
โอกาส (Opportunity)
·       ยังไม่มีผู้ประกอบการที่ผลิตผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันในเขตพื้นที่ อ.เมือง จึงไม่มีปัญหาการแข่งขัน
·       การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่จะเพิ่มขึ้นในปี 2546 ทำให้อัตราการเติบโตในภาคการผลิตและบริโภคเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการเติบโตของตลาดน้ำยาปรับผ้านุ่มด้วย
อุปสรรค (Threat)
·       มีผู้ผลิตรายใหญ่ๆ หลายราย ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นบริษัทข้ามชาติ ผู้ผลิตเหล่านี้มีกำลังในการทำโฆษณาประชาสัมพันธ์มาก ซึ่งจะช่วยทำให้สินค้าของคู่แข่งเป็นที่รู้จักและมีภาพลักษณ์ที่ดี
·       สภาวะการแข่งขันนอกเขต อ. เมือง จ. สระบุรีและพื้นที่จังหวัดใกล้เคียงค่อนข้างรุนแรงโดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ ทำให้ยากต่อการขยายช่องทางการจัดจำหน่ายของกิจการได้ในอนาคต




วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2554

การแบ่งส่วนตลาด การกำหนดตลาดเป้าหมาย และการกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์

การแบ่งส่วนแบ่งตลาด
            การแบ่งส่วนแบ่งตลาด (Market Segmentation) เป็นการแบ่งตลาด (Market) ออกเป็นตลาดย่อย (Sub Market) หรือส่วนตลาด (Market Segment) ตามลักษณะและความต้องการหรือลักษณะเฉพาะอย่างที่คล้ายคลึงกัน เพื่อเลือกส่วนตลาดใดส่วนตลาดหนึ่ง หรือหลายส่วนตลาด หรือทั้งหมด เป็นตลาดเป้าหมาย (Target Market) แล้วนำเสนอผลิตภัณฑ์และส่วนประสมการตลาดในแต่ละตลาดเป้าหมายนั้นอย่างเหมาะสม 
หลักเกณฑ์ในการแบ่งส่วนตลาด (Bases of market segmentation)
            ขั้นตอนแรกในการพัฒนากลยุทธ์การแบ่งส่วนตลาดก็คือ การเลือกเกณฑ์ที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งประกอบด้วย
1.การแบ่งส่วนตลาดตามหลักภูมิศาสตร์ (Geographic Segmentation)
            เป็นการแบ่งส่วนตลาดตามหลักภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกัน ประกอบด้วย ขอบเขต ขนาดของจังหวัด อากาศ ความหนาแน่น ขนาดของประเทศ เป็นต้น โดยยึดหลักว่าบุคคลที่อาศัยอยู่ในเขตภูมิศาสตร์เดียวกันจะมีความจำเป็นและ ความต้องการคล้ายคลึงกัน ซึ่งจะแตกต่างกับบุคคลที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่นอื่น เช่น ในภาคเหนือและภาคอีสาน การขายเสื้อกันหนาวจะมีโอกาสขายได้ดีกว่าในภาคกลางและภาคใต้เพราะอากาศ หนาวกว่า เป็นต้น
2.การแบ่งส่วนตามลักษณะประชากรศาสตร์ (Demographic Segmentation)
เป็นการแบ่งส่วนตลาดโดยใช้หลักด้านประชากรศาสตร์ ประกอบด้วย
            - อายุ (Age) ผลิตภัณฑ์แต่ละประเภทจะสามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคที่มีอายุ แตกต่างกัน อีกทั้งความชอบและรสนิยมของบุคคลจะเปลี่ยนแปลงไปตามวัย เช่น วัยรุ่นมักจะสนใจสินค้าตามสมัยนิยม ส่วนผู้สูงอายุมักจะสนใจสินค้าเกี่ยวกับสุขภาพเป็นต้น
            - เพศ (Sex) ผู้หญิงกับผู้ชายมีแนวโน้มที่จะมีทัศนคติและพฤติกรรมที่แตกต่างกัน
ในอดีต ผู้หญิงจะเป็นกลุ่มเป้าหมายของผลิตภัณฑ์ประเภทครีมบำรุงผิว น้ำหอม ครีมเปลี่ยนสีผม ยาระงับกลิ่นกาย แต่ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าสินค้าเหล่าเจริญเติบโตสูงมากในส่วนตลาดชาย
            - วงจรชีวิตครอบครัว (Family life cycle)
            แนวความคิดนี้ยึดหลักว่าครอบครัวส่วนใหญ่จะผ่านขั้นตอน 3 ขั้นตอนคือ ขั้นการสร้างครอบครัว ขั้นเจริญเติบโต และ ขั้นสุดท้าย เช่น คู่รักที่พึ่งแต่งงานมักจะต้องการบ้านขนาดเล็ก ตลอดจนรถยนต์ขนาดเล็ก ครอบครัวที่มีบุตรหลายคน จะต้องการบ้านและรถยนต์ขนาดใหญ่สำหรับครอบครัว ส่วนครอบครัวที่มี่บุตรยังเล็กอยู่จะต้องการผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก เช่น ผ้าอ้อม นมผง เป็นต้น
            - รายได้ (Income)
            โดยทั่วไปนักการตลาดจะสนใจผู้บริโภคที่มีรายได้สูง แต่อย่างไรก็ตามผู้ที่มีรายได้ปานกลางและมีรายได้ต่ำจะเป็นตลาดที่มีขนาด ใหญ่กว่า สินค้าและบริการที่นิยมใช้การแบ่งส่วนตลาดตามรายได้ ได้แก่ บ้าน รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ เสื้อผ้า เครื่องสำอาง และการท่องเที่ยว เป้นต้น
            - การศึกษา (Education)
          ผู้ที่มีการศึกษาสูงมีแนวโน้มที่จะบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพที่ดีกว่าและมีราคาที่สูงกว่าผู้ที่มีการศึกษาต่ำ
            - อาชีพ (Occupation)
            บุคคลในแต่ละสาขาอาชีพจะมีความจำเป็นและความต้องการในสินค้าและบริการที่ ต่างกัน เช่น นักธุรกิจ ต้องการรถยนต์ที่ดูดีมีระดับ เช่น เบนซ์ (Benz) ผู้ใช้แรงงานต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน เช่น สบู่ ยาสีฟัน และอาหาร เป็นต้น นักการตลาดจะต้องศึกษาว่าสินค้าและบริการของบริษัทเป็นที่ต้องการของกลุ่ม อาชีพประเภทใด เพื่อจะได้จัดเตรียมสินค้าให้สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเหล่านี้ได้ อย่างเหมาะสม
            นอกจากนี้การศึกษา อาชีพ และรายได้นั้น มักจะมีความสัมพันธ์กันอย่างยิ่ง บุคคลที่มีการศึกษาสูงมักจะมีอาชีพการงานที่ดี มีรายได้สูง ส่วนบุคคลที่มีการศึกษาต่ำ โอกาสที่จะมีอาชีพการงานในระดับสูงนั้นย่อมเป็นไปได้ยาก จึงมีรายได้ต่ำ 
3.การแบ่งส่วนตลาดตามหลักจิตวิทยา (Psychographic Segmentation)
            เป็นการแบ่งส่วนตลาดออกเป็นกลุ่มที่แตกต่างกัน โดยถือหลักเกณฑ์ด้านชั้นของสังคม รูปแบบการดำรงชีวิต และบุคลิกภาพ ดังนี้
            3.1 ชั้นของสังคม (Social Class) หมายถึง ลำดับชั้นของสถานะบุคคลในสังคมโดยถือหลักเกณฑ์การศึกษา อาชีพและรายได้ บุคคลในชั้นสังคมที่แตกต่างกันจะมีค่านิยม ความพึงพอใจ ความต้องการในผลิตภัณฑ์ ตลอดจนอุปนิสัยในการซื้อแตกต่างกัน สินค้าที่นิยมใช้การแบ่งส่วนตลาดโดยถือเกณฑ์ชั้นของสังคมได้แก่ บัตรเครดิต รถยนต์ เสื้อผ้า นาฬิกา ปากกา กระเป๋า เป็นต้น
            3.2 ค่านิยมและรูปแบบการดำรงชีวิต [Value and lifestyle (VALs)]
            ค่านิยม (Value) หมายถึง ความนิยมในสิ่งของหรือบุคคล หรือความคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งค่านิยมของแต่ละบุคคลจะแตกต่างกันไป เช่น ผู้นิยมในวัตถุ (วัตถุนิยม) มักจะสวมเสื้อผ้ามียี่ห้อ (Brand Name) ขับรถที่มีราคาแพงเพื่อแสดงฐานะของตน เป็นต้น
            รูปแบบการดำรงชีวิต (Lifestyle) หมายถึง รูปแบบของการดำรงชีวิตในโลกมนุษย์ ซึ่งขึ้นอยู่กับวัฒนธรรม ชั้นของสังคม หรือกลุ่มอาชีพของแต่ละบุคคลซึ่งแตกต่างกันไป ประกอบด้วย กิจกรรม (Activities) ความสนใจ (Interests) และความคิดเห็น (Opinions) ซึ่งบางครั้งเรียกว่า AIOs
          เกณฑ์การแบ่งส่วนตลาดตามค่านิยมและรูปแบบการดำรงชีวิต [Value and lifestyle (VALs)] เป็นที่นิยมใช้กันอย่างมาก ซึ่งลักษณะของ VALs อาจจะแบ่งออกเป็นกลุ่มต่างๆได้ดังนี้
  • ผู้ที่ชอบเข้าสังคม (Actualizers)
  • ผู้ที่ประสบความสำเร็จในชีวิต (Fulfilleds)
  • ผู้ที่ยึดมั่นในหลักการ (Believers)
  • ผู้ที่มีความทะเยอทะยาน (Achievers)
  • ผู้ที่มีความพยายาม (Strivers)
  • ผู้ที่ต่อสู้ดิ้นรน (Strugglers)
  • ผู้ที่มีประสบการณ์ (Experiencers)
  • ผู้ปฏิบัติการ (Makers) หรืออาจจะแบ่งเป็นกลุ่มต่างๆได้ดังนี้ 
    • กลุ่มที่ต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด (Survivors)
    • กลุ่มที่ขยันขันแข็ง (Sustainers)
    • กลุ่มที่ต้องการการยอมรับจากสังคม (Belongers)
    • กลุ่มที่ชอบเลียนแบบ (Emulators)
    • กลุ่มที่ต้องการความสำเร็จ (Achievers)
    • กลุ่มที่ต้องการความเป็นตัวของตัวเอง (I-AM-ME)
    • กลุ่มที่ชอบผจญภัย (Experimental)
    • กลุ่มที่ชอบเข้าสังคม (Societally Conscious)
    • กลุ่มที่ชอบพบปะสังสรรค์ (Integrated)
            3.3 บุคลิกภาพ (Personality) หมายถึง ลักษณะด้านจิตวิทยาที่แตกต่างกันของบุคคล ซึ่งจะนำไปสู่พฤติกรรมการตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมที่สอดคล้องกันและมีความคง ที่ นักการตลาดได้ใช้ตัวแปรทางด้านบุคลิกภาพในการแบ่งส่วนตลาด โดยพยายามสร้างแนวความคิดและภาพลักษณ์เกี่ยวกับตรา เช่น ออกแบบให้สอดคล้องกับบุคลิกภาพของผู้บริโภค เช่น รถสปอร์ต กำหนดลักษณะกลุ่มเป้าหมายว่า เป็นผู้ที่มีบุคลิกคล่องแคล่ว ปราดเปรียว และอยู่ในวัยหนุ่มสาว เป็นต้น
4.การแบ่งส่วนตลาดตามพฤติกรรม (Behavioristic Segmentation)
          นักการตลาดเชื่อว่าตัวแปรทางด้านพฤติกรรมศาสตร์เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญใน การแบ่งส่วนตลาด โดยจะพิจารณาเฉพาะปัจจัยสำคัญ ดังนี้
            4.1 โอกาสในการซื้อ (Purchase Occasion) เป็นการจำแนกผู้ซื้อได้จากโอกาสที่ผู้บริโภคจะซื้อสินค้า เช่น โอกาสในการซื้อตั๋วการเดินทางสายการบิน เพื่อการเดินทางท่องเที่ยว เพื่อการทำธุรกิจหรือเพื่อศึกษาต่อเป็นต้น การแบ่งส่วนตลาดตามโอกาสในกรซื้อยังสามารถช่วยเพิ่มอัตราการใช้สินค้าได้มาก ยิ่งขึ้นตัวอย่างเช่น ปกติผู้บริโภคมักจะดื่มนมในตอนเช้า บริษัทผู้ผลิตนมอาจกระตุ้นให้ดื่มนมในโอกาสต่างๆเพิ่มขึ้นโดยการโฆษณารณรงค์ ให้ดื่มนมทุกเวลาเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง
            4.2 การแสวงหาผลประโยชน์ (Benefit sought) ผู้ซื้อเลือกผลิตภัณฑ์โดยมีสิ่งกระตุ้นในการซื้อที่แตกต่างกัน เช่น การซื้อยาสีฟัน ผู้บริโภคซื้อเพื่อต้องการป้องกันฟันผุ ฟันขาว รสชาติดี มีส่วนผสมของสมุนไพร จะเห็นว่าลักษณะที่ผู้บริโภคต้องการจะเป็นลักษณะทางประชากรศาสตร์ จิตวิทยา และผลประโยชน์ที่ได้รับร่วมกัน
            4.3 สถานะของผู้ใช้ (User Status) นักการตลาดจะแบ่งส่วนตลาดตามสถานะของผู้ใช้ออกเป็น ผู้ที่ไม่เคยใช้ ผู้ที่เคยใช้ ผู้ที่เลิกใช้ ผู้ที่มีอำนาจซื้อ ผู้ใช้ครั้งแรก และผู้ใช้ประจำ ตัวอย่างบริษัทที่มีส่วนครองตลาดสูง เช่น โกดัก จะสนใจผู้ทีมีอำนาจซื้อ ได้แก่ ผู้ผลิตภาพยนตร์ สตูดิโอถ่ายภาพ หรือผู้ที่มีรายได้สูง เนื่องจากผู้ใช้ที่มีอำนาจซื้อและผู้ใช้สินค้าเป็นประจำจะสามารถสร้างผลกำไร ที่สูงสุดให้กับบริษัทได้
            4.4 อัตราการใช้ (Usage rate) นักการตลาดสามารถแบ่งกลุ่มผู้ซื้อผลิตภัณฑ์ออกเป็น ผู้ซื้อปริมาณมาก ปานกลาง และน้อย ซึ่งเรียกว่าการแบ่งส่วนตลาดตามปริมาณ ตัวอย่าง ผู้ที่ดื่มเบียร์ปริมาณมากมักจะมีความภักดีต่อตราสินค้ามากกว่าผู้ที่ดื่ม เบียร์ปริมาณน้อย และจะมีการซื้อในปริมาณมากว่าและบ่อยกว่า ดังนั้นนักการตลาดจึงจำเป็นต้องรู้ว่าผู้ที่ซื้อผลิตภัณฑ์มากนั้นมีลักษณะ ทางประชากรศาสตร์ และบุคลิกลักษณะอย่างไร ซึ่งนักการตลาดจะนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในการปรับปรุงราคา ข่าวสาร และกลยุทธ์การตลาดให่สอดคล้องกับลักษณะของผู้บริโภค
            4.5 สภาพความภักดีต่อสินค้า (Loyalty status) เป็นคำมั่นสัญญาของผู้ซื้อที่จะทำการซื้อสินค้านั้นซ้ำในอนาคต ไม่ว่าจะมีสถานการณ์หรือความพยายามทางการตลาดที่มีอิทธิพลมากระทบให้เกิด พฤติกรรมเปลี่ยนไปซื้อสินค้าของบริษัทอื่น ตัวอย่างของผู้ซื้อที่ภักดีต่อตราสินค้ามาก เช่น นักดื่มสุราหรือเบียร์ซึ่งบริษัทจะต้องพิจารณาถึงระดับความภักดีต่อตราสิน ค้าที่แตกต่างกันของผู้บริโภค เพื่อใช้ความพยายามทางการตลาดให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างเหมาะสม
            นักการตลาดสามารถแบ่งผู้ซื้อตามสถานะของความภักดีต่อตราสินค้าได้เป็น 4 กลุ่มดังนี้
1.ความภักดีแบบมั่นคง (Hard-core loyals) ผู้บริโภคจะซื้อสินค้าเดียวตลอดเวลา
2.ความภักดีแบบปันส่วน (Split loyals) ผู้บริโภคจะมีความภักดีต่อตราสินค้า 2-3 ตรา
3.ความภักดีแบบย้ายตราสินค้า (Shifting loyals) ผู้บริโภคจะเปลี่ยนจากตราสินค้าหนึ่งไปอีกสินค้าหนึ่ง
4.ผู้บริโภคที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลง (Switchers) นั่นคือผู้บริโภคที่ไม่มีความภักดีต่อตราสินค้าใดเลย และพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาตามอิทธิพลจากเหตุการณ์หรือความพยายาม ทางการตลาด
            4.6 ขั้นความพร้อมของผู้ซื้อ (Buyer - Readness stage) ผู้บริโภคจะมีความพร้อมในการซื้อผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน ผู้บริโภคที่มีอำนาจซื้ออาจยังไม่รู้จักผลิตภัณฑ์ บางคนรู้จักอย่างดีแล้ว บางคนเริ่มเข้าใจ บางคนสนใจ บางคนพอใจ และ บางคนต้องการจะซื้อ การจำแนกผู้บริโภคตามขั้นตอนของความพร้อมในการซื้อ จะทำให้เกิดแผนการทางการตลาดที่แตกต่างกันอย่างมาก แผนการตลาดต้องปรับปรุงให้เหมาะสมกับขั้นความพร้อมของผู้ซื้อ
            4.7 ทัศนคติ (Attitude) เป็นการแบ่งส่วนตลาดตามความรู้สึกนึกคิดของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ เช่น พอใจมาก ชอบ เฉยๆ ไม่ชอบ เกลียด การแบ่งส่วนตลาดของผู้นับถือศาสนาอาจแบ่งตามเกณฑ์นี้ การเผยแพร่ศาสนาจะใช้เครื่องมือที่แตกต่างกันสำหรับแต่ละกลุ่มเป้าหมาย
            การแบ่งส่วนตลาดโดยใช้คุณลักษณะที่หลากหลาย (Multi attribute Segmentation) หรือการแบ่งกลุ่มทั้งทีม (Geoclustering segmentation)
            การแบ่งกลุ่มทั้งทีม (Geoclustering) เป็นการแบ่งส่วนตลาดตามเกณฑ์ประชากรศาสตร์แบบเดิม โดยใช้ดัชนีการให้คะแนนศักยภาพตามพื้นที่ของตลาด [Potential rating index by zip markets (PRIZM)] โดยพิจารณาจากปัจจัยดังนี้
  1.             การศึกษาและอิทธิพลต่างๆที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ
  2.             วงจรชีวิตครอบครัว
  3.             การเปลี่ยนแปลงจากชนบทสู่เมือง
  4.             เชื้อชาติและจริยธรรม
  5.             ความสามารถในการเคลื่อนย้าย
การกำหนดตลาดเป้าหมายหลายส่วน (Targeting multiple segments)
บ่อยครั้งที่บริษัทเข้าสู่ตลาดโดยเริ่มจากหนึ่งส่วนตลาดก่อน แล้วจึงทำการขยายออกไปเป็นหลายส่วนตลาด ซึ่งลุกค้าส่วนใหญ่จะมีพฤติกรรมการซื้อสินค้าแบบเปลี่ยนไปมาระหว่างบริษัท ทำให้ไม่สามารถกำหนดส่วนตลาดที่ชัดเจนได้ เช่น ชอบดื่มสุราของต่างประเทศ แต่สูบบุหรี่ที่ผลิตในประเทศ ดังนั้นจึงเป็นการยากในการตีความและกำหนดส่วนตลาดโดยการสังเกตจากการซื้อของ ผู้บริโภคเพียงครั้งเดียว
การกำหนดตลาดเป้าหมายหรือการเลือกตลาดเป้าหมาย
            การกำหนดตลาดเป้าหมาย (Merket targeting) หรือการเลือกตลาดเป้าหมาย (Target Market Selection) หมายถึง การเลือกส่วนตลาดใดส่วนตลาดหนึ่ง หรือหลายส่วนตลาด หรือทั้งหมด เพื่อใช้เป็นเป้าหมายสำหรับการใช้ส่วนประสมทางการตลาดในส่วนที่เลือกนั้น กลยุทธ์ในการเลือกตลาดเป้าหมายมี 3 กลยุทธ์ มีรายละเอียดดังนี้
            1.กลยุทธ์การตลาดที่ไม่แตกต่างกัน (Undifferentiated marketing strategy) หรือกลยุทธ์ตลาดรวม (Market aggregation strategy) ตอบสนองความต้องการด้วยส่วนประสมการตลาดชุดเดียว ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์หนึ่งรูปแบบ ราคาเดียว โปรแกรมส่งเสริมการตลาดชุดเดียว และระบบการจัดจำหน่ายหนึ่งชุด เพื่อเข้าถึงลูกค้าทุกรายในตลาดรวม
            2. กลยุทธ์การตลาดที่แตกต่างกัน (Differentiated marketing) หรือกลยุทธ์หลายส่วนตลาด (Multiple Segment Strategy) ดำเนินการในส่วนการตลาดมากกว่า 1 ส่วนขึ้นไป แล้วแต่ทรัพยากรและกำลังความสามารถของบริษัท โดยออกแบบผลิตภัณฑ์ และส่วนประสมการตลาดใหแตกต่างกันตามความเหมาะสมกับแต่ละส่วนภาค
            3. กลยุทธ์การตลาดมุ่งเฉพาะส่วน (Concentrated Marketing) หรือกลยุทธ์มุ่งเฉพาะตลาดส่วนเดียว (Single segment strategy) ตัดสินใจเลือกดำเนินการในส่วนตลาดเพียงส่วนเดียว (Single Segment) โดยใช้ส่วนประสมการตลาด ซึ่งประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ ราคา การส่งเสริมการตลาด และวิธีการจัดจำหน่าย 1 ชุด เพื่อตอบสนองต่อความต้องการในตลาดส่วนนั้น
การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์
            เป็นการกำหนดคุณสมบัติหรือลักษณะของผลิตภัณฑ์ลงไปในจิตใจของผู้บริโภคเมื่อ เปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งขัน (Kotler and Armstrong. 2004 : 259) หรือเป็นการวางแนวความคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีตำแหน่งในการแข่งขันที่แตกต่างและมีคุณค่าในจิตใจของผู้ บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย
ขั้นตอนในการกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ (Step in positioning strategy)
ขั้นที่ 1   การระบุถึงข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน
          เป็นการนำเสนอสิ่งที่มีคุณค่าในสายตาของลูกค้าเหนือกว่าคู่แข่งขัน หลังจากได้ใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้นแล้ว ข้อได้เปรียบทางการแข่งขันมีดังนี้
            1.1 การสร้างความแตกต่างด้านผลิตภัณฑ์ (Product differentiation) เป็นการอกแบบลักษณะต่างๆของผลิตภัณฑ์ให้แตกต่างและเหนือกว่าคู่แข่งขันที่ สามารถทำให้ลูกค้าพึงพอใจได้ในด้านต่างๆ ได้ดังนี้ เช่น รูปแบบ ลักษณะ คุณภาพการดำเนินงาน คุณภาพในมาตรฐานการผลิต ความทนทาน ความไว้วางใจได้ ความสามารถซ่อมแซมได้ การออกแบบ
            1.2 การสร้างความแตกต่างด้านบริการ (Services differentiation) เป็นการสร้างความแตกต่างด้านการบริการให้เหนือกว่าคู่แข่งขัน  การสร้างความแตกต่างด้านบริการถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ควบ ประกอบด้วย ความง่ายในการสั่งซื้อ การขนส่ง การติดตั้ง การฝึกอบรมลูกค้า บริการให้คำแนะนำลูกค้า การบำรุงรักษาและซ่อมแซม การบริการอื่นๆ
            1.3 การสร้างความแตกต่างด้านบุคลากร (Personnel differentiation) เป็นการสร้างความแตกต่างในด้านคุณสมบัติของบุคลากรที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน โดยคำนึงถึงการตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก ประกอบด้วย ความสามารถ ความสุภาพอ่อนโยน ความเชื่อถือได้ ความไว้วางใจได้ การตอบสนองต่อลูกค้า การติดต่อสื่อสาร
            1.4 การสร้างความแตกต่างด้านช่องทางจัดจำหน่าย (Channel differentiation) เน้นการสร้างความแตกต่างผ่านช่องทางการจัดจำหน่ายแบบขายตรง ผ่านคนกลาง การสื่อสารการตลาด หรือผ่านพื้นที่บนเว็ปไซต์ ซึ่งต้องคำนึงถึง ความครอบคลุม ผู้เชี่ยวชาญ การดำเนินงาน
            1.5 การสร้างความแตกต่างด้านภาพลักษณ์ (Image differentiation) เป็นการสร้างความแตกต่างด้านความรู้สึกนึกคิดของลูกค้าที่มีต่อผลิตภัณฑ์ โดยเน้นหลักด้านจิตวิทยาหรืออารมณ์ หรือสัญลักษณ์ การพัฒนาภาพลักษณ์ในตราสินค้าต้องอาศัยการติดต่อสื่อสารผ่านสื่อต่างๆดังนี้ ความเป็นเอกลักษณ์เปรียบเทียบกับภาพลักษณ์ สัญลักษณ์ สี สโลแกน คุณสมบัติพิเศษ สิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุ และ โทรทัศน์ บรรยากาศ เหตุการณ์

ขั้นที่ 2   การเลือกข้อได้เปรียบทางการแข่งขันที่เหมาะสม
            2.1 ความแตกต่างที่ควรส่งเสริม (Difference to promote) ความแตกต่างที่จะนำมากำหนดเป็นผลิตภัณฑ์นั้นจะต้องเป็นสิ่งที่ มีความสำคัญ มีลักษณะเด่น มีลักษณะที่เหนือกว่า สามารถสื่อสารได้ เป็นรายแรกที่เข้าถึงจิตใจของลูกค้า สามารถรับภาระค่าใช้จ่ายได้ สามารถสร้างกำไรและมีคุณค่า
            2.2 จำนวนความแตกต่างที่จะส่งเสริม นักการตลาดจะต้องตัดสินใจว่าควรจะทุ่มเททรัพยากรทั้งหมดเพื่อกำหนดตำแหน่ง ผลิตภัณฑ์เพียงประเด็นเดียวหรือมากกว่า ตลอดจนมีการพัฒนาจุดขาย [Unique Selling Point (USP)] เพื่อใช้เป็นหลักในการสื่อสารและการโฆษณา

ขั้นที่ 3   การเลือกกลยุทธ์การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์โดยรวม
            3.1 การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ตามคุณสมบัติหรือลักษณะของผลิตภัณฑ์ [Positioning by product attributes (characteristic)] เป็นการกำหนดตำแหน่งตามคุณสมบัติหรือลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าในสายตา ผู้บริโภค เช่น ขนาด ลักษณะที่ใช้
            3.2 การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ตามคู่แข่งขัน (Positioning by competitor) เป็นการกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์โดยเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน ซึ่งส่วนใหญ่จะระบุว่าเหนือกว่าคู่แข่งขัน
            3.3 การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ตามสัญลักษณ์ด้านวัฒนธรรม (Positioning by cultural symbols) กำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์โดยคำนึงถึงสัญลักษณ์ด้านวัฒนธรรม
            3.4 การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ตามผลประโยชน์และคุณค่า (Positioning by product's benefits and values) เป็นการกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ตามผลประโยชน์หรือคุณค่าที่ผู้บริโภคจะได้รับ
            3.5 การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ตามราคาและคุณภาพ (Positioning by price/quality) โดยยึดหลักข้อเสนอที่มีคุณค่า (Value proposition) แสดงทางเลือกของข้อเสนอที่มีคุณค่าที่เป็นไปได้ในการกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน 5 ทางเลือก  ทางเลือก 5 ประการมีดังนี้
            1. คุณภาพดีเลิศราคาสูง
            2. คุณภาพดีเลิศราคาปานกลาง
            3. คุณภาพปานกลางราคาต่ำ
            4. คุณภาพต่ำราคาต่ำมาก
            5. คุณภาพดีเลิศราคาต่ำ
            3.6 การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ตามการใช้หรือการนำไปใช้ (Positioning with respect to use or application)
          3.7 กี่กำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ตามลักษณะของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ (Positioning by product user)
          3.8 การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ตามระดับชั้นของผลิตภัณฑ์ (Positioning by product class)
            3.9 การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์จากหลายวิธีรวมกัน (Positioning by combination of ways)
            3.10 การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ตามรูปแบบการดำรงชีวิต (Positioning by lifestyles)
ขั้นที่ 4   การออกแบบลักษณะที่จะสื่อสารตำแหน่งผลิตภัณฑ์ให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด
          ตำแหน่งผลิตภัณฑ์นั้นอาจจะสื่อออกมากด้วยสิ่งต่างๆดังนี้ ชื่อตราสินค้า สโลแกน ลักษณะของผลิตภัณฑ์
ขั้นที่ 5   การสื่อสารและการส่งมอบตำแหน่งผลิตภัณฑ์ที่เลือกสรร
            เป็นการส่งมอบและสื่อสารตำแหน่งที่พอใจไปยังลูกค้าเป้าหมาย โดยที่ส่วนประสมการตลาดอื่นๆ จะต้องให้การสนับสนุนตำแหน่งผลิตภัณฑ์นี้ ไม่ว่าจะเป็น ผลิตภัณฑ์ ราคา การจัดจำหน่าย การส่งเสริมการตลาด
การปรับตำแหน่งตราผลิตภัณฑ์ใหม่
            เป็นการตัดสินใจเปลี่ยนตำแหน่งตราสินค้าเป็นตำแหน่งใหม่ เพื่อขยายส่วนตลาดหรือลดส่วนตลาด เพื่อเลี่ยงการแข่งขัน หรือเพื่อแก้ไขตำแหน่งตราสินค้าเดิมที่ล้าสมัย หรือตำแหน่งที่ผิดพลาดหรือไม่ประสบความสำเร็จ

Link สำหรับโหลด File PowerPoint

กลยุทธ์ทางการตลาด(8 P's Strategy)

การวางแผนกลยุทธ์การตลาดสมัยใหม่
                                                                             
       กลยุทธ์ทางการตลาดสมัยใหม่ซึ่งเป็นส่วนผสมทางการตลาด(Marketing Mix)หรือที่เรียกสั้นๆว่า 8P’s ซึ่งต้องมีแนวทางความคิดทางการสื่อสารการตลาด(IMC)โดยอาศัยเครื่องมือการ ติดต่อสื่อสารกับผู้บริโภคแบบสมัยใหม่ซึ่งแบ่งส่วนขยายเพิ่มเติมจากเดิมอีก หลายส่วนทั้งงานศึกษาทั้งภายในและภายนอกประเทศเชื่อมโยงสู่การทำธุรกิจสมัย ใหม่ซึ่งเน้นการสร้างผลกำไรสูงสุดบนความพอใจของผู้บริโภคซึ่งเป็นการทำ ธุรกิจระยะยาว(Long-Term Business) พร้อมกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคสมัยใหม่ซึ่งเปลี่ยนไปอย่างมากโดย เฉพาะการแบ่งส่วนการตลาด(Segmentation)ซึ่งไม่สามารถแบ่งส่วนการตลาดแบบ เดิมๆได้แล้ว ซึ่งการเอกสารการศึกษาในส่วนแรกเป็นแนวทางทำธุรกิจและก่อให้เกิดพฤตกรรมใน การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร  ส่วนที่เอกสารอื่นๆจะช่วยในการวางแผนการตลาด ในธุรกิจผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีความเกี่ยวข้องและสอดคล้องกับการศึกษาใน ครั้งนี้
1.แนวคิดทางการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดโดยใช้ 8P’s
       ซึ่งประกอบไปด้วยสว่นผสมทางการตลาด ดังนี้
            1.1 กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์  ( Product  Strategy )
            1.2กลยุทธ์ราคา ( Price  Strategy )
            1.3กลยุทธ์การจัดจำหน่าย  ( Place  Strategy )
            1.4กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด ( Promotion  Strategy )
            1.5กลยุทธ์การบรรจุภัณฑ์  ( Packaging  Strategy )
            1.6กลยุทธ์การใช้พนักงานขาย ( Personal  Strategy )
            1.7กลยุทธ์การให้ข่าวสาร  ( Public  Relation Strategy )
            1.8กลยุทธ์ พลัง   ( Power  Strategy )
       ซึ่งสามารถอธิบายเพื่อให้เข้าใจง่ายๆดังนี้
         กลยุทธ์ ผลิตภัณฑ์  (Product  Strategy)
กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์นั้น จะเกี่ยวข้องกับกระบวนการตัดสินใจ เกี่ยวกับ
             1. คุณสมบัติผลิตภัณฑ์  ( Product  attribute ) 
             2.  ส่วนประสมผลิตภัณฑ์ ( Product  mix )
             3. สายผลิตภัณฑ์ ( Product  lines )
สิ่งที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์
             1. แนวความคิดด้านผลิตภัณฑ์  ( Product  Concept ) 
เป็นคุณสมบัติที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค Product ได้ ต้องมีความชัดเจนในตัวผลิตภัณฑ์นั้น ๆ
             2. คุณสมบัติผลิตภัณฑ์  ( Product  attribute ) จะต้องทราบว่าผลิตภัณฑ์นั้นผลิตมาจากอะไร
มีคุณสมบัติอย่างไร ลักษณะทางกายภาพ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ขนาด ความดี ความงาม ความคงทนทานด้านรูปร่าง รูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในตัวของมันเอง
             3.ลักษณะเด่นของสินค้า  ( Product  Feature  ) การนำสินค้าของบริษัทไปเปรียบเทียบกับสินค้าของคู่แข่งขันแล้วมีคุณสมบัติ แตกต่างกัน และจะต้องรู้ว่าสินค้าเรามีอะไรเด่นกว่า เช่น ลักษณะเด่นของ Dior คือเป็นผลิตภัณฑ์ชันนำจากปารีส
             4.ประโยชน์ของผลิตภัณฑ์  ( Product  Benefit )   พิจารณาว่าสินค้ามีลักษณะเด่นอย่างไรบ้าง
และสินค้าให้ประโยชน์อะไรกับลูกค้าบ้าง  ระหว่างการให้สัญญากับลูกค้า กับการพิสูจน์ด้วยลักษณะเด่นของสินค้า
                 ตัวอย่างกลยุทธ์
                 : ขยายวิธีการใช้ใหม่ๆ ของผลิตภัณฑ์เรา เพื่อกลุ่มเป้าหมายใหม่ คือ กลุ่มผู้ใหญ่ที่ อายุตั้งแต่ 55 ปี ขึ้นไป
                 : ละทิ้งผลิตภัณฑ์ซึ่งบังไม่สามารถทำกำไรนับตั้งแต่เมื่นำผลิตภัณฑ์นั้นๆ สู่ตลาดแล้วเป็นเวลา 5 ปี
            กลยุทธ์ราคา ( Price  Strategy )
เป็นการกำหนดว่าเราจะตั้งราคาแบบใด กลยุทธ์ราคาสูงหรือราคาต่ำ สิ่งที่จะต้องตระหนักคือ
ราคาทีได้กำหนดไว้นั้นเหมาะสมในการแข่งขัน หรือสอดคล้องกับตำแหน่งผลิตภัณฑ์ของสินค้านั้นหรือไม่กลยุทธ์ด้านราคา ( Price strategy )
 ในการกำหนดกลยุทธ์ด้านราคามีประเด็นสำคัญที่จะต้องพิจารณาดังนี้
              1.ตั้งราคาตามตลาด ( On going price ) หรือตั้งราคาตามความพอใจ ( Leading price )
                     1.1 ตั้งราคาตามตามตลาด (On going price) เหมาะสำหรับสินค้าที่สร้างความแตกต่างได้ยากจึงไม่สามารถจะตั้งราคาให้แตก ต่างจากตลาดคู่แข่งขันได้ นั่นคือ การตั้งราคาตามคู่แข่งขัน
                     1.2 ตั้งราคาตามความพอใจ  ( Leading price )  เป็นการตั้งราคาตามความพอใจ โดยไม่คำนึงถึงคู่แข่งขัน เหมาะสำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีความแตกต่างในตราสินค้า สินค้าที่มีเอกลักษณ์ส่วนตัวมีภาพพจน์ที่ดี จะตั้งราคาเท่าไรก็ไม่มีใครเปรียบเทียบ
              2. สินค้าจะออกเป็นแบบราคาสูง ( Premium price )  เมื่อแน่ใจในคุณภาพที่เหนือกว่าและการยอมรับในราคาของลูกค้าหรือราคามาตรฐาน ( Standard ) เมื่อใช้การตั้งราคาโดยพิจารณาจากราคาของคู่แข่งขัน หรือตราสินค้าเพื่อการแข่งขัน ( Fighting brand )  เป็นสินค้าด้อยคุณภาพกว่าคู่แข่งขันเล็กน้อย จะลงตลาดล่าง
              3. การตั้งราคาเท่ากันหมด  ( One pricing ) คือสินค้าหลายอย่างที่มีราคาติดอยู่บนกล่อง หมายถึง ไม่ว่าจะขายอยู่ที่ใดฤดูหนาวหรือฤดูร้อนราคาก็เท่ากันหมด  หรือราคาแตกต่างกัน ( Discriminate price ) ข้อดี คือสามารถเรียกราคาได้หลายราคา แต่ข้อเสียก็คือ เราต้องหาเหตุผลในการตั้งราคาหลายอย่าง เพื่อให้คนยอมรับได้
              4. การขยายสายผลิตภัณฑ์ ( Line extension ) ในกรณีนี้การนำเสนอสินค้าเริ่มต้นด้วยราคาหนึ่ง แล้วมีกลยุทธ์เผยแพร่ความนิยมไปยังตลาดบน หรือตลาดล่าง
              5.  การขยับซื้อสูงขึ้น ( Trading up ) เป็นการปรับราคาสูงขึ้นทำให้ได้กำไรมากขึ้น จึงพยายามขายให้ปริมาณมากขึ้นหรือการขยับซื้อต่ำลง ( Trading down ) เป็นการผลิตสินค้าที่มีราคาแพงให้มีคุณภาพกว่าสินค้าที่ราคาถูกเล็กน้อยแต่ ตั้งราคาสูงกว่า เพื่อให้คนซื้อสิ้นที่รองลงมา
              6. การใช้กลยุทธ์ด้านขนาด ( Size ) คือไม่ทำขนาดเท่ากับผู้ผลิตรายอื่น ๆ
                  ตัวอย่าง กลยุทธ์ 
                  : ตั้งราคาสูงกว่าคู่แข่งร้อยละ 30 เพื่อแสดงภาพลักษณ์ของตำแหน่งผลิตภัณฑ์ของสินค้าที่อยู่ในระดับสูง
                  : ตั้งราคาต่ำสำหรับช่วงฤดูกาลที่ยอดขายน้อย และตั้งราคาต่ำกว่าผู้นำเล็กน้อยในช่วงฤดูกาลที่ยอดขายดี
             กลยุทธ์ช่องทางการจัด จำหน่าย( Place Strategy )
วิธีการจัดจำหน่าย จะต้องพิจารณาถึง
              1. ช่องทางการจัดจำหน่าย ( Channel of distribution ) 
เป็นเส้นทางที่สินค้าเคลื่อนย้ายจากผู้ผลิตหรือผู้ขายไปยังผู้บริโภคหรือผู้ ใช้ ซึ่งอาจจะผ่านคนกลางหรือไม่ฝ่ายคนกลางก็ได้
              2. ประเภทของร้านค้า ( Outlets ) ในทุกวันนี้จะพบได้ว่าวิวัฒนาการของการจัดจำหน่ายนั้นเป็นสิ่งที่เจริญเติบ โตรวดเร็วมากประเภทของร้านค้ามีมากมาย จนแทบจะตามไม่ทัน จะขอเรียงลำดับประเภทของร้านค้าจากใหญ่ไปหาเล็ก
               (1) ร้านค้าส่ง  ( Wholesale store ) เป็นร้านค้าที่ขายสินค้าในปริมาณมาก ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นคนกลาง 
               (2)  ร้านค้าขายของถูก( Discount store )  เป็นร้านค้าที่ขายสินค้าราคาพิเศษ 
               (3)  ร้านห้างสรรพสินค้า( Department store )                             
               (4)  ซูเปอร์มาร์เก็ตที่อยู่เดี่ยว ๆ (Stand alone supermarket)เป็นร้านที่มีทำเลเดี่ยวไม่ติดกับร้านค้าใดๆ 
               (5) ช้อปปิ้งชุมชน ( Community mall ) เป็นร้านค้าที่อยู่ในย่านชุมชน
               (6) Minimart  จะเห็นได้จากร้านค้าเล็กๆ ตามตึกอาคารสูงๆ ในโรงพยาบาล ซึ่งตั้งฮั่วเส็งเริ่มบุกตลาด Minimart  พอสมควร 
               (7)  ร้านค้าสะดวกซื้อ ( Convenience store ) เป็นร้านค้าที่ขายสินค้าอุปโภคบริโภค หรือสินค้าสะดวกซื้อ บางร้านจะเปิดบริการ 24 ชั่วโมง
               (8) ร้านค้าในปั๊มน้ำมัน 
               (9) ซุ้มขายของ ( Kiosk )  เป็นร้านที่จัดเป็นซุ้มขายของ บางครั้งจัดเป็นบูท
              (10) เครื่องขายอัตโนมัติ ( Vending machine ) เป็นการขายสินค้าผ่านเครื่องจักรอัตโนมัติ
              (11) การขายทางไปษณีย์ ( Mail order )  เป็นการขายสินค้าซึ่งใช้จดหมายส่งไปยังลูกค้า มีการลงในหนังสือพิมพ์ นิตยสาร ถ้าพอใจก็ส่งข้อความสั่งซื้อทางไปรษณีย์
              (12) ขายโดยแคตตาล็อก ( Catalog sales )
              (13) ขายทางโทรทัศน์ ( T.V. Sales )
              (14) ขายตรง ( Direct sales ) การขายโดยใช้พนักงานขายออกเสนอขายตามบ้าน
              (15) ร้านค้าสวัสดิการ เป็นร้านค้าที่ตั้งขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกกับพนักงานตามหน่วยงานราชการ ต่างๆ ของบริษัท หรือสำนักงานต่างๆ
              (16) ร้านค้าสหกรณ์ เป็นร้านค้าที่ตั้งอยู่ตามมหาวิทยาลัย และโรงเรียนต่างๆ
           3. จำนวนคนกลางในช่องทาง ( Number of intermediaries ) หรือความหนาแน่นของคนกลา
ในช่องทางการจัดจำหน่าย ( Intensity of distribution ) ในการพิจารณาเลือกช่องทางการจัดจำหน่ายจะมีกระบวนการ 3 ขั้นตอน
ดังนี้
               (1) การพิจารณาเลือกลูกค้ากลุ่มเป้าหมายว่าเป็นใคร
               (2)พฤติกรรมในการซื้อของกลุ่มเป้าหมาย เช่น ซื้อเงินสดหรือเครดิต ต้องจัดส่งหรือไม่ ซื้อบ่อยเพียงใด 
               (3) การพิจารณาที่ตั้งของลูกค้าตามสภาพภูมิศาสตร์
           4. การสนับสนุนการกระจายตัวสินค้าเข้าสู่ตลาด ( Market logistics ) เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิต และตัวสินค้าจากแหล่งปัจจัยการผลิตผ่านโรงงานของผู้ผลิต แล้วกระจายไปยังผู้บริโภค
                    กลยุทธ์ การส่งเสริมการตลาด(Promotion Strategy )
              กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดจะต้อง ประสานกับแผนการตลาดโดยรวมและควรกำหนดแผนการส่งเสริมการตลาดที่เฉพาะเจาะจง
              ตัวอย่างกลยุทธ์
                   : ใช้กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดกับคู่ค้า เพื่อให้คู่ค้าสนับสนุนตราสินค้าของเรา
                   : ใช้กลยุทธ์ส่งเสริมการตลาดให้เกิดผลสูงสุดเพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อสินค้า ของเราในช่วงที่ยอดขายตกต่ำของปี
                              (ค้น หาเพิ่มเติมในบทความหน้าอื่น)
                    กลยุทธ์ การบรรจุภัณฑ์  (Packaging Strategy )
            การตัดสินใจเลือกรูปแบบการบรรจุภัณฑ์และประเภทวัสดุของบรรจุภัณฑ์มักจะใช้ กับสินค้าอุปโภคบริโภคที่พัฒนาใหม่ หรือเมื่อมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสินค้าใหม่ กลยุทธ์การบรรจุภัณฑ์ มีหลักในการพิจารณาดังนี้
              1. บรรจุภัณฑ์นั้นเหมาะสมที่จะบรรจุสินค้า ( Put  in ) หรือไม่
              2. สินค้าเมื่อวางบนชั้นแล้วได้เปรียบ (เด่น ) ( Put up ) หรือไม่
              3. สินค้าเมื่อนำเอามาใช้แล้วเก็บสะดวก ( Put away ) หรือไม่
              4. บรรจุภัณฑ์สวยงาม ( Prettiness ) หรือไม่
              5. สามารถเชิญชวนให้ใช้ ( Pleading ) ได้หรือไม่
              6. บรรจุภัณฑ์สามารถสะท้อนตำแหน่งครองใจของสินค้า ( Positioning ) ได้หรือไม่
              7. บรรจุภัณฑ์สามารถสะท้อนบุคลิกภาพของสินค้า ( Personality ) ได้หรือไม่
              8. บรรจุภัณฑ์สามารถปกป้องสินค้า ( Protection ) ได้หรือไม่
              9. บรรจุภัณฑ์มีความสะดวกต่อการใช้งาน ( Practicality ) หรือไม่
            10. บรรจุภัณฑ์ที่เลือกนั้นสามารถทำกำไรได้มากขึ้น ( Profitability ) ได้หรือไม่
            11. บรรจุภัณฑ์นั้นสามารถนำมาใช้ในการส่งเสริมการตลาด ( Promotion ) ได้หรือไม่
            12. เป็นการบอกถึงวิธีการใช้สินค้า ( Preaching ) ได้หรือไม่
            13. สามารถดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ( Preservation ) ได้หรือไม่
                    ถ้านำสิ่งเหล่านี้มาพิจารณาทั้งหมดจะเห็นไว่าในการออก แบบบรรจุภัณฑ์ของบริษัทจะเป็นโลโก้ ตัวหนังสือ ตัวอักษร การเลือกเป็นกระดาษ เป็นโฟม เป็นฝาจุก หรือเครื่องหมาย สีสันต่างๆ บริษัทก็จะได้บรรจุภัณฑ์ที่ดี
                     ตัวอย่าง กลยุทธ์  
                                :  เปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ใหม่ด้วยสีสันที่สดใสเพื่อให้ผู้บริโภคเห็นอย่าง ชัดเจน ณ จุดขาย
                          กลยุทธ์ การใช้พนักงานขาย (Personal  Strategy)
           การขายโดยใช้พนักงานขายจัดเป็นรูปแบบการปฏิบัติ ตัวต่อตัวระหว่างกิจการกับลูกค้า ทั้งนี้เพื่อมุ่งหวังคำสั่งซื้อด้วยรูปแบบการขายที่แตกต่างกัน    การขายโดยพนักงานขายนั้นเกี่ยวข้องกับการจ้างพนักงานขาย การจัดการทั่วๆ ไปเกี่ยวกับพนักงานขาย ตลอดจนการบริหารสินค้าคงคลัง  การเตรียมการเสนอขายและการบริการหลังการขาย ในการพัฒนาแผนกการขายนั้น กิจการจะเริ่มตั้งแต่การตั้งวัตถุประสงค์และปฏิบัติการ ซึ่งต้องมีความชัดเจนและสอดคล้องกับประเภทของธุรกิจ โดยอาจเป็นธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจการบริการ หรือธุรกิจการผลิต จากนั้นจึงกำหนดกลยุทธ์การขายและการดำเนินงาน การขายโดยใช้พนักงานขายนั้นหวังผลลัพธ์เพื่อเพิ่มยอดขายและขณะเดียวกันก็ เพื่อสร้างสัมพันธ์ภาพระยะยาวกับลูกค้าอีกด้วย  
          นอกจากนี้การขายโดยใช้ พนักงานขายนั้น ยังมีการใช้โบว์ชัวร์ เอกสาร ใบปลิว วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อช่วยในการนำเสนอขายของพนักงาน  ตลอดจนเป็นหลักฐานอ้างอิงและสามารถมอบไว้ให้ลูกค้าเพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม
                    ตัวอย่าง กลยุทธ์ 
                             : กำหนดตัวเลขอัตราส่วนการขาย เช่น จำนวนลูกค้าที่คาดหวัง ( Prospect ) เมื่อเทียบกับจำนวนที่กลายเป็นลูกค้าที่ซื้อสินค้าของเราในที่สุดหรือจำนวน ลูกค้าที่ซ่อสินค้าเมื่อเทียบกับลูกค้าที่เข้ามาในห้าง ทั้งนี้เพื่อการตรวจสอบถึงประสิทธิภาพของพนักงานขาย
                  : คิดค้นโปรแกรมการให้ผลตอบแทนการขาย ( Incentive Program ) ใหม่ๆ เพื่อเป็นรางวัลแก่พนักงานขายที่ทำยอดขายตามเป้า
                         กลยุทธ์ การให้ข่าวสาร( Public Relation Strategy)
                  การให้ข่าวสารนั้น คือ รูปแบบหนึ่งของการติดต่อสื่อสารที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อสื่อ ทั้งนี้เพื่อสร้างทัศนคติที่เป้นบวกต่อสินค้าและกิจการของเรา แต่ปัจจุบันการสื่อสารโดยวิธีดังกล่าวอาจมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ รวมทั้งค่าใช้จ่ายทางอ้อมเกี่ยวกับสื่ออีกด้วย การให้ข่าวสารแก่สาธารณะชนนั้นเป็นรูปแบบหนึ่งของการประชาสัมพันธ์ การให้ข่าวสารจัดว่าเป็นการสร้างภาพลักษณ์ในระยะยาวแก่องค์กร และต้องการให้ผลลัพธ์นี้ออกมาในเชิงบวกแก่องค์กร
                  สิ่งที่เราต้องพิจารณาอย่างยิ่งในการให้ข่าวสารคือ กลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้รับข่าวสารและสื่อโฆษณาที่จะใช้เพื่อการสื่อข่าว สาร
                        ตัวอย่างกลยุทธ์   
     : การร่วมมือกับสื่อบางสื่อเพื่อจัดเทศกาลในโอกาสพิเศษ
     : กำหนดโปรแกรมการเปิดตัวการบริการรูปแบบใหม่ของธุรกิจเรา




ที่มา : http://www.iimc.co.th/knowledge/8p.html
เรียบเรียงโดย ไซมอน โชติอนันต์ พลตื้อ